ความหมายของนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด
การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational
Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational
Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมาย ถึง
ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ
มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม
องค์ประกอบ3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan
edt01.htm)
แนวคิดรวบยอดของเทคโนโลยีทางการศึกษา
ซึ่งอาจจะพิจารณาเป็น 2 ด้าน คือ
.....1.ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง
การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์
โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่
การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน
มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
.....2.
ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา
มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก
การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน
เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้
เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ
หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา สรุปได้4 ประการ คือ
.....1.
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) แผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ
ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น
(Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching
Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
.....2.
ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น
(Instructional Development in 3 Phases)
.....3.
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
(Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
.....4.
ประสิทธิภาพในการเรียน นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎี ทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
.....นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike,
Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov)
กล่าว ไว้ว่า
ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง
ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้
ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike)
ซึ่ง กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ
อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
.....1.
กฎแห่งการผล (Law of Effect)
.....2.
กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
.....3.
กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน
ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2
ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5
ประการ
ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ คือ
.....1.
ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน
ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
.....2.
ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม
และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ
ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขา ไว้
5
ประการ คือ
.....1.
การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
.....2.
การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
.....3.
การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
.....4.
คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
.....5.
คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant
Conditioning)เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าว ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว
สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้
ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
แนวคิดของสกินเนอร์ นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป
หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program
Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะ
ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
.....1.
การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
.....2.
การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
.....3.
การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
.....4.
การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
2.หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
คาร์เพนเตอร์
และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
.....1.หลักการจูงใจ
สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน
เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ
ของผู้เรียน
.....2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล
ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน
การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน
ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน
ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
.....3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
.....4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ
และมีความหมายตามความสามารถของเขา
.....5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม
และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด
.....6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ
จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
.....7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ
ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
.....8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน
สอดคล้องกับ ความต้องการ ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
.....9.การถ่ายโยงที่ดี
โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง
อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ
เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
.....10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น
ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที
หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski) ได้ สนับสนุนว่า
การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน
หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย ไว้ให้
เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก ซึ่งหมายถึงว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน
3.ทฤษฎีการรับรู้
เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น
ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้
ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น
การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด
ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ
การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด
แนวคิดของรศ.ดร.สาโรช โศภี
ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส
(Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล
หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า
แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ และ วไลพร
ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม กล่าวว่า
การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์
การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส
และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ
ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง
ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้
แนวคิดของ Fleming ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย
มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง
รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
.....1.โดย ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์
หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
.....2.ใน การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด
เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด
เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง
.....3.เมื่อ มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ
ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร
จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมาย
สรุป
ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2. จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3
กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม
หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
2. กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา
หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
3. กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้
(Constructivists)
2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม พฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ
ไม่ดี – ไม่เลว
การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus
response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ ”พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม พุทธิปัญญา
ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความจริง (Truth) หรือความรู้มีอยู่จริงในโลกหรือในจักรวาล
ถ้าเราพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเราก็จะพบไปเรื่อยๆ
ทฤษฎีนี้จึงถือว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ
มีการแปลความ ตีความ การให้เหตุผลจนเกิดรู้สำนึก และสะสมเป็นความรู้ในที่สุด
ทฤษฎี Constructivism
มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active)
และสร้างความรู้ ซึ่งจิตวิทยา Constructivists มีความเห็นในเรื่องการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม คอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) หรือ คอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง (Theory of Active
Knowing) ซึ่งมีแนวคิดหลักว่า
บุคคลเรียนรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน
โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่
และแรงจูงใจภายในเป็นพื้นฐานมากกว่า
โดยอาศัยแต่เพียงรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมหรือรับการสอนจากภายนอกเท่านั้น
และความขัดแย้งทางสติปัญญา (Cognitive Conflict) ที่เกิดจากการที่บุคคลเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาซึ่งไม่สามารถแก้หรืออธิบายได้ด้วยโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่
หรือจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการไตร่ตรอง (Reflection)
ซึ่งนำไปสู่โครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Cognitive Restrucring) ที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ปัญหา
ที่เป็นปัญหาหรือขจัดความขัดแย้งทางปัญญาได้
คุณลักษณะร่วมของทฤษฎี Constructivism
1. ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4. การจัดสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีดังนี้
1) ผลการเรียนรู้มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เท่านั้น
แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของผู้เรียน
2) การเรียนรู้
คือการสร้างความหมาย
ความหมายที่สร้างขึ้นจากผู้เรียนจากสิ่งที่ผู้เรียนเห็นหรือได้ยินอาจจะเป็นหรือไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของผู้สอน
ความหมายที่ผู้เรียน
สร้างขึ้นได้รับผลกระทบอย่างมากจากความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่
3) การสร้างความหมายเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
และผู้เรียนเป็นผู้กระทำกระบวนการนี้เอง (Active) ในสถานการณ์การเรียนรู้
ผู้เรียนจะตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบ และ
อาจเปลี่ยนแปลงสมมติฐานขณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับปรากฏการณ์กับผู้อื่น
4) ความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจะได้รับการตรวจสอบ
และอาจจะได้รับการยอมรับหรือถูกปฏิเสธ
5) ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้เอง
ในการสร้างความตั้งใจในการทำงาน
การดึงความรู้ที่มีอยู่มาสร้างความหมายให้แก่ตนเองและการตรวจสอบความหมายที่สร้างขึ้นนั้น
6) มีแบบแผน (Patterns)
ของความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจากประสบการณ์โลกเชิงกายภาพและภาษาธรรมชาติที่มีความหมายเดียวกันในเชิงนามธรรม
3. ทฤษฎีการสื่อสารและการสื่อความหมาย
การสื่อสาร(communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือ
พฤติกรรมที่เข้าใจ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ผู้ส่ง ---> ข้อมูลข่าวสาร ---> สื่อ
---> ผู้รับ
ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ
ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร
2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย
ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง
ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ
ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ
เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น
และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก
สื่ออิเลกทรอนิกส์
ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร
การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้
มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
3.1 ทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสาร คือ
การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่
ผล อิทธิพล การใช้
การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ
แนวโน้มอนาคต
และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร
แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร
หรือปากคำของมนุษย์
3.2 ลักษณะและหลักการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ
"วจนภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด
การร้องเพลง เป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ
"อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน
(Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง
ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น
(Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์
สไลด์ เป็นต้นหรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน
เป็นต้น
3.3 ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
ดังนี้
1. การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal
or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง
บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ
เป็นต้น
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล
(Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3. การสื่อสารแบบกลุ่มชน
(Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก
เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล
เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
4. การสื่อสารมวลชน (Mass
Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ
แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ
เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม
ๆ หรือไล่เรี่ยกัน
3.4 กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Comunication
Process) หมายถึง
การส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง
และการใช้กิริยาท่าทาง
3.5 องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร
หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหล่งหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว
แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ
เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้
ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ
ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message)
ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด
ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร
(Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด
เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย
(Receiver or Target Audience) ได้แก่
ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน
หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ
การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร
และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน
คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้
ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่
เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน
ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา
และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น
จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน
หมายถึง
ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน
หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน
หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ
ส่งกลับไปยังผู้สอน
3.6 การสื่อสารกับการเรียนการสอน
การสื่อสารกับการเรียนการสอนในระบบการเรียนการสอน
หากพิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมีลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลายประการ
ทั้งทางด้านองค์ประกอบและกระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารโดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็น
ตัวกลาง และประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นวัดได้
โดยคุณภาพและปริมาณของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียน
ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย ครูวิธีการสอน
สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้
จะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพการทดสอบประสิทธิภาพ
อาศัยข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกับขบวนการของการสื่อสาร
ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับเป็นเครื่องตรวจสอบว่า การถ่ายทอดความคิด
หรือการสื่อสารของผู้ส่งสารนั้นได้ผลแล้วหรือยัง
และถ้ายังไม่ได้ผลดีจะต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจนแน่ใจว่าได้ผลจึงใช้สื่อสารต่อไป
สำหรับสื่อกลางในการเรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. วัสดุ (Material or
Software) ได้แก่
วัสดุที่ทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียงและอักษรในรูปแบบต่าง ๆ
ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่
หนังสือเรียนหรือตำรา ของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศเป็นต้น
1.2
วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไกเป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่
ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ เส้นเทปบันทึกเสียง แผ่นซีดี โปรแกรมคอมพิวเตอร์
รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ เป็นต้น
2. เครื่องมือหรืออุปกรณ์
(Device or Hardware) ได้แก่ สื่อที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่าน ของความรู้
ซึ่งสามารถทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหว
หรือไปสู่นักเรียนจำนวนมากหรือไปได้ไกล ๆ รวดเร็ว ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์
เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์
และเครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย เป็นต้น
3. เทคนิคหรือวิธีการต่าง
ๆ (Technique or Method) ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น
การสาธิต การแสดงบทบาท การแสดงละครและหุ่น การศึกษานอกสถานที่ การจัดแสดงและนิทรรศการ
ตลอดจนเทคนิคในการเสนอบทเรียนด้วยสื่อประเภทวัสดุและเครื่องมือ เป็นต้น
และเพื่อให้ครูสามารถเลือกและใช้สื่อในการสอนให้ได้ผลดีขอเสนอหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกและใช้สื่อดังนี้
1. การเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.1
เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย
ในรูปของพฤติกรรม ซึ่งครอบคลุมลักษณะพฤติกรรมทั้ง 3ประเภท
คือ พุทธิพิสัย (Cognitive) ทักษะพิสัย(Phychromoter)
จิตพิสัย (Affective) ทั้งนี้
เพราะจุดมุ่งหมายของการสอนแตกต่างกัน ย่อมให้ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างกัน
ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนและประสบการณ์ในการเรียนการสอน
1.2
เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
พฤติกรรมของผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้
ถ้าผู้เรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมและประสบการณ์ที่ได้รับความพึงพอใจย่อมก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนและประสบการณ์การเรียนการสอน จึงควรเลือกสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพอใจ
มีการตอบสนองและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดหวัง
1.3
เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคนวัสดุและประสบการณ์ที่จัดให้แก่ผู้เรียนควรง่ายและอยู่ในขอบเขตความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนสื่อการเรียนการสอนนั้นจะต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับประสบการณ์ใหม่ได้เป็นอย่างดี
และไม่จำเป็นต้องใช้กับผู้เรียนทั้งชั้นเหมือนกันหมด เพราะสื่อการเรียนการสอน
และประสบการณ์บางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับผู้เรียนบางคน ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยเช่นเดียวกันกับการเลือก
1.4 เลือกรูปแบบของสื่อ
รูปแบบของสื่อเป็นการแสดงออกทางกายภาพของสื่อที่ปรากฏให้เห็น เช่น ภาพพลิก
(ภาพนิ่ง และข้อความ) สไลด์ (ภาพนิ่งที่ฉายกับเครื่องฉาย)โสตวัสดุ (เสียง
และดนตรี) ภาพยนตร์ (ภาพเคลื่อนไหวบนจอ) วิดีทัศน์ (ภาพเคลื่อนไหวบนจอโทรทัศน์)
และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย(กราฟิกข้อความและภาพเคลื่อนไหวบนจอ)ซึ่งสื่อแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันและมีข้อจำกัดในการบันทึกและเสนอข้อมูลต่างกันครูควรเลือกรูปแบบของสื่อที่สามารถสนองต่อภารกิจที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายในการเรียนโดยพิจารณาด้วยว่าจะหาสื่อนั้นได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและความแตกต่างของบุคคลด้วย
การเลือกรูปแบบของสื่อยังต้องคำนึงถึงขนาดของกลุ่มผู้เรียนด้วย
เช่นกลุ่มใหญ่/กลุ่มเล็ก หรือเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลเป็นต้น
1.5
เลือกสื่อการเรียนการสอนที่พอจะหาได้และอำนวยความสะดวกในการใช้การเลือกสื่อการเรียนการสอนมาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสื่อนั้นมาใช้ด้วยและไม่จำเป็นต้องใช้สื่อที่มีราคาแพงเสมอไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะหาสื่อการเรียนการสอนชนิดใดได้บ้างที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
2. การใช้สื่อการเรียนการสอน
สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็นแต่เพียงเครื่องมือหรือตัวกลางที่ช่วยผ่อนแรงผ่อนระยะเวลาของครูและผู้เรียน
ให้ได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก
แต่การที่ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดนั้น
ก็มิใช่อยู่ที่ลักษณะชนิดและคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนแต่เพียงอย่างเดียว
ความจริงอยู่ที่ครูและผู้ใช้มีความสามารถในการเลือกและใช้เป็นส่วนใหญ่ด้วย
ดังนั้นครูจะต้องมีการวางแผนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชาจำนวนผู้เรียนลักษณะการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
รวมทั้งการวัดผลและประเมินผลด้วยข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นระบบการวางแผนการใช้สื่อเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่เรียกว่า
ASSURE model ซึ่งมีขั้นตอน
ดังนี้
2.1 วิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze learners)โดยพิจารณาเกี่ยวกับ
2.1.1 คุณลักษณะทั่วไป
เช่น อายุ ระดับชั้นเรียน อาชีพ หรือตำแหน่งหน้าที่ตลอดจนวัฒนธรรม
2.1.2
ลักษณะเฉพาะที่นำสู่ความสามารถในการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งการทดสอบก่อนการเรียนจะช่วยให้ทราบถึงระดับความพร้อมหรือประสบการณ์เบื้องต้นที่ผู้นั้นมี
และเนื้อหาและทักษะที่ต้องฝึกฝน
2.1.3
รูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะจิตวิทยาการเรียนรู้โดยพิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ
ความสนใจความแตกต่างในการรับรู้
2.2 กำหนดจุดมุ่งหมายหรือ
พฤติกรรมสุดท้ายที่หวังจะให้ผู้เรียนมี (State objectives)การกำหนดจุดมุ่งหมายควรกำหนดให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนเขาจะต้องทำอะไรบ้าง
จุดมุ่งหมายทางการเรียนการสอนทั่วไปแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะพฤติกรรม 3ประเภท คือ
2.2.1 พุทธิพิสัย (Cognitive
domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
หลักเกณฑ์และความคิดรวบยอด
2.2.2 จิตพิสัย (Affective
domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติความเข้าใจ และค่านิยม
2.2.3 ทักษะพิสัย (Psychomotordomain)
หมายถึง
การเรียนจากการกระทำที่แสดงออกทางด้านร่างกายและเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย เช่น
การเรียนว่ายน้ำ การเรียนขับรถการอ่านออกเสียง การใช้ท่าทางและการเล่นกีฬา เป็นต้น
4.
วิธีระบบ
และการวิเคราะห์ระบบ
4.1 ความหมายของระบบ
ความหมายของระบบ ระบบ คือ
ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง
ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้นๆ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4
ประการ คือ
วิธีการระบบที่ดี
จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์
เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ว่าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล
วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ
ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้
ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
4.2 ลักษณะของระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น
ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่
โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน
4.3 การวิเคราะห์ระบบ
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง
ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ
( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนดังนี้
คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา
ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2
ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ
ว่าจะให้ได้ผลในทางใด
มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง
ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล
การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้วและต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้
วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ
ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวางและเป็นธรรม หลาย
ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น
การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน
ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล
เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง
จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน
จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7ก็จะทำให้เราทราบว่า
การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข
ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป
4.4 วิธีระบบกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีระบบกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง
ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
วิธีระบบ ( System Approach) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบหรือตัวป้อน
( Input )
2. กระบวนการ
( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ
( Feedback)
1.
สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง
สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่
ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน
วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
2.
กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง
การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป
มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู
หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3.
ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง
ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น
4.
การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ
(Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิธีระบบที่ดี
ต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่า
ข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ
ในทางตรงข้ามถ้าระบบใดมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ไปใช้ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
4.5 วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษา
วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษาเทคโนโลยีการศึกษา
คือการนำวิธีระบบเข้ามาใช้ โดยมีขั้นตอนกว้างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การวิเคราะห์และการทำความเข้าใจปัญหา,
วิเคราะห์ปัญหา
2. การเลือกหรือการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา,
เลือก, ออกแบบแนวทาง
3. การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา,
พัฒนา, วิธีการ
4. การทดสอบ
ประเมินและปรับปรุงวิธีการ, ทดสอบและประเมินผล
5. การนำไปใช้และการควบคุมกำกับ,
นำไปใช้, ควบคุม
การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ
ในการเรียนการสอน
การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ
ในการเรียนการสอน (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู) ได้เสนอความรู้ ความคิด” นวัตกรรมการศึกษาด้วยหลักการ 4 อย่าง
ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
หมายถึงให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการกระทำ
ความรู้เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักเรียนได้ทดลอง ได้ปฏิบัติ
ได้สังเกตจากของจริง ได้ทำงานร่วมกันได้ทำงานด้วยตนเองทำให้ได้ความรู้จริง
หรือความจริงสูงสุดถึงประสบการณ์ชีวิตจริงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบัน
มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการใหม่ ๆ ใช้สื่อการสอน (Instructional
Aids) หรือ โสตทัศนวัสดุ(Audiovisual Material) เพราะนักเรียนมีมาก วิทยากรต่าง ๆ ก้าวหน้าและมีมาก
ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
การใช้สื่อการสอนช่วยทำให้ครูลดบทบาทผู้ชายน้ำลายรายชั่วโมง
ให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียนด้วยกิจกรรม นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
ไม่ใช่ครูเป็นผู้บงการ
2. การนำและการผลิตสื่อการสอนมาใช้ในห้องเรียน เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถได้พัฒนาความแตกต่างของบุคคล
และช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือ
ได้เรียนเต็มกำลังความสามารถและเกิดความพึงพอใจและช่วยให้การเรียนการสอนนั้นได้ประสิทธิผล
คือได้ผลตามความมุ่งหมาย
3. การบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ คือ
นวัตกรรมการศึกษาได้แก่การนำแนวความคิดและวิธีการใหม่ๆมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนางานด้านการศึกษาในโรงเรียน
เช่นพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายให้มีความรู้ความสามารถช่วยพัฒนาการจัดระบบการสอนช่วยลดปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนการบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
จะต้องกำหนดภาระหน้าที่ กำหนดนโยบายให้ชัดเจน มีการเตรียมแผนงาน โครงการ
มีการบริหารงานตามจุดประสงค์ มีการติดตามและประเมินผลงาน และมีการปรับปรุงพัฒนางาน
โดยสมาชิกของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา
นวัตกรรมทางการศึกษา
เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ในการจัดการศึกษาเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา
ได้แก่ หลักสูตร วิธีสอน สื่อการสอน การจัดสภาพแวดล้อมช่วยในการศึกษา
ตลอดจนการวัดผล การประเมินผลการเรียนการสอน
4. การวัดและประเมินผลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เป็น
นวัตกรรมการศึกษา การวัดและประเมินผล เป็นศาสตร์ สาขาหนึ่ง
มีกระบวนการและวิธีการที่ได้พิสูจน์แล้ว ว่ากระทำอย่างใด
จึงจะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ สามารถวัดและประเมินสิ่งที่ต้องการได้
อย่างเที่ยงตรงและเชื่อถือได้
แนวคิด ทฤษฎี
ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
และเทคโนโลยีทางการศึกษา
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) +
โลยี(วิทยา) หมาย ถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา
ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ
มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม
องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ
อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
แนวคิดรวบยอดของเทคโนโลยีทางการศึกษา
ซึ่งอาจจะพิจารณาเป็น 2
ด้าน คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้
เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น
เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่
การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน
มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์
เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย
การบริหาร เครื่องยนต์กลไก
การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน
เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้
เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ
หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
สรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Different) แผนการศึกษาของชาติ
ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น
(Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป
(Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching
Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness)
นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น
(Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
(Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป
(Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
แนวคิด ทฤษฏี
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
หลักการ ทฤษฎี
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์
อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication
) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ
และผู้รับสื่อ
3. ทฤษฎีระบบ จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่
กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น
เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบ
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิด
ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
1.2
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3
ทฤษฎีการพัฒนาการ
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory)
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike)
ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ
อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law
of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law
of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law
of Readiness)
ธอร์นไดค์
นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้
ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2
ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ ภารกิจการสอนของครู
ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง
ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม
และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ
ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
ธอร์นไดค์
ได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนไว้ 5 ประการ ดังนี้
1. การกระทำกิจกรรมต่าง
ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ
(Interest Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ
(Preparation and Mentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล
(Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม
(Socialization)
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน
(Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
(Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที
(Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง
(Reinforcement)
หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
หลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการ สอน
เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจ
ที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา
2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล
วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน
ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน
ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน
ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่กำหนด
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยว
กับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้นการเลือก การใช้การตอบสนอง
และผลิตผลจึงจะต้องพิจารณาเป็นแผนรวมเพื่อสนองความต้องการและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างสอดคล้องกัน
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ
เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด จากกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการจัดสื่อเทคโนโลยีควรคำนึงถึงหลักการเหล้านี้
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามรารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ
เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ
จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำยั่วยุความสนใจและทำให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน
ความสอดคล้อง และความเป็นผล
สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ
ความต้องการ
และสัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี
โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง
อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ เพ่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ใหม่
และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
10.การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น
ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้วหลักการ
ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล
และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 --
Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ
ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ
ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน
เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล
ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล
ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)
สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ
ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
นวัตกรรมกระบวนการ หรือนวัตกรรมบริการ
ซึ่งการสร้างนวัตกรรมต่างๆในองค์กรนั้น อาจไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากผู้ที่ทำงานในระดับบริหาร
หรือหัวหน้างาน แต่นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวผู้ปฏิบัติเอง นั่นหมายความว่า
บุคลากรทุกคนในองค์กรล้วนมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
และมีส่วนในการขับเคลื่อนองค์กรให้พัฒนาและก้าวหน้าต่อไปได้
ทั้งนี้การสร้างนวัตกรรมต่างๆ นอกจากจะส่งผลให้ขั้นตอนการทำงาน
หรือผลผลิตที่ได้มามีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว
การสร้างนวัตกรรมยังส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กร
รวมไปถึงความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการอีกด้วย กล่าวคือ
หากผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงการปฏิบัติ
ซึ่งอาจรวมไปถึงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน ที่อาจยังไม่เหมาะสม
หรือไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่แล้วนั้น
องค์กรก็สามารถลดต้นทุนในการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ผลผลิตหรือทรัพยากรที่สูญเสียไป
รวมทั้งความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการที่ได้รับสินค้าหรือบริการจากองค์กร นั่นเอง
ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น
ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลขององค์การนั้นขึ้นกับความสามารถขององค์การในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์
แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน และเทคโนโลยีต่าง ๆ จากภายนอก และเรียนรู้จากประสบการณ์
และจากกันและกันภายในองค์การ เพื่อให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้สามารถดำเนินงานและเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างขีดความสามารถในการเรียนรู้องค์การนั้น
แม้จะดูเหมือนกับว่าต้องมีการนำความคิดใหม่ ๆ
ที่ยุ่งยากซับซ้อนเข้ามาเผยแพร่ให้ทุกคนในองค์การเข้าใจและยอมรับ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว
การทำให้องค์การเรียนรู้นั้นสามารถใช้เทคนิควิธีการปฏิบัติงาน
และเทคนิคการปรับปรุงการบริหารต่าง ๆ
ที่องค์การเคย
หรือกำลังปฏิบัติอยู่แล้วก็ได้ เช่น การจัดการเชิงกลยุทธ์ การปรับโครงสร้างองค์การ
หรือกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตต่าง ๆ ฯลฯ
เพียงแต่พยายามทำให้คนในองค์การเห็นว่า
ทุกสิ่งที่เขาทำอยู่แล้วนั้นล้วนเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น
เพียงแต่เขาจะต้องตั้งสติและไตร่ตรองดูจึงจะเห็นถึงกระบวนการในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
และสามารถเก็บเกี่ยวความรู้จากประสบการณ์นั้น ๆ ไว้เป็นสินทรัพย์ทางปัญญา (Intellectual Asset) ที่สามารถเก็บสะสมไว้สำหรับเลือกนำมาใช้ในอนาคต
หรือจะเลือกนำมาแบ่งปันให้แก่คนอื่น ๆ ตามกระบวนการเรียนรู้ของทีมก็ได้
ซึ่งจะวยให้เพื่อร่วมงานที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกันได้มีความรู้ความเข้าใจในระดับใกล้เคียงกัน
ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้ทุก ๆ คนในองค์การได้ร่วมกันบุกเบิก เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
เพื่อความเจริญก้าวหน้าต่อไปอีก
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน
ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน
คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น
ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ
ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป
ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ
แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา
แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง
ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่
โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ
ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย
ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้
แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’
ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง
จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ
อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
การปฏิเสธนวัตกรรม
เมื่อมีผู้ค้นคิดหานวัตกรรมมาใช้ไม่ว่าในวงการใดก็ตาม มักจะได้รับการต่อต้านหรือ
การปฏิเสธ ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ลัทธิการปกครอง
หรือวิธีการสอนใหม่ ๆ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการด้วยกันดังนี้
1) ความเคยชินกับวิธีการเดิม
ๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ที่
ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้น ๆ
บุคคลผู้นั้นก็มักที่จะยืนยันในการใช้วิธีการนั้น ๆ ต่อไปโดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2) ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม
แม้บุคคลผู้นั้นจะทราบข่าวสารของ นวัตกรรมนั้น ๆ
ในแง่ของประสิทธิภาพว่าสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
ได้เป็นอย่างดีก็ตาม การที่ตนเองมิได้เป็นผู้ทดลองใช้นวัตกรรมนั้น ๆ
ก็ย่อมทำให้ไม่แน่ใจว่านวัตกรรมนั้น ๆ มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่
3) ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม
เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งที่โดยมากแล้วบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ
ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้น ๆ
ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะแสวงหานวัตกรรมมาใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ไม่พอเพียงก็จะรู้สึกท้อถอยและปฏิเสธในการที่จะนำนวัตกรรมนี้มาใช้ในการเรียนการสอนในชั้นของตน
4) ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ
โดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมมักจะต้องนำเอาเทคโนโลยี สมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม
ดังนั้นค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมจึงดูว่ามีราคาแพง ในสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป
จึงไม่สามารถที่จะรองรับต่อค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมนั้น ๆ
แม้จะมองเห็นว่าจะช่วยให้การดำเนินการ
โดยเฉพาะการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจริง ดังนั้นจะเป็นได้ว่าปัญหาด้านงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิเสธนวัตกรรม
10.2.2 การยอมรับนวัตกรรม
ดังกล่าวมาแล้วว่าบุคคลจะปฏิเสธนวัตกรรมเนื่องด้วยสาเหตุหลัก 4 ประการคือ ความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ
ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมความรู้ของบุคคลว่านวัตกรรมและข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ
ดังนั้นในการที่จะกระตุ้นให้บุคคลยอมรับนวัตกรรมนั้น ๆ ต้องแก้ไขปัญหาหลักทั้ง 4 ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เอเวอร์เรต เอ็ม โรเจอร์ (Everretle
M.Rogers อ้างในณรงค์ สมพงษ์, 2530:6) กล่าวถึงกระบวนการยอมรับนวัตกรรมว่าแบ่งออกเป็น
5 ขั้นตอนคือ
1) ขั้นตื่นตัว (Awareness)
ในขั้นนี้เป็นขั้นของการที่ผู้รับได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้น
ๆ
2) ขั้นสนใจ (Interest)
เป็นขั้นที่ผู้รับนวัตกรรมเกิดความสนใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้หรือไม่
ก็จะเริ่มหาข้อมูล
3) ขั้นไตร่ตรอง (Evaluation)
ผู้รับจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าจะสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาของตนได้จริงหรือไม่
4) ขั้นทดลอง (Trial)
เมื่อพิจารณาไตร่ตรองแล้วมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของตนได้
ผู้รับก็จะนำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาทดลองใช้
5) ขั้นยอมรับ (Adoption)
เมื่อทดลองใช้นวัตกรรมดังกล่าว แล้วหากได้ผลเป็นที่พอใจ
นวัตกรรมดังกล่าวก็จะเป็นที่ยอมรับนำมาใช้เป็นการถาวรหรือจนกว่าจะเห็นว่าด้อยประสิทธิภาพ
หากไม่เกิดประสิทธิภาพนวัตกรรมดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลนั้นอีกต่อไป
เมื่อพิจารณากระบวนการยอมรับนวัตกรรมของโรเจอร์แล้ว เปรียบเทียบกับสาเหตุหลัก 4 ประการของการปฏิเสธนวัตกรรมจะเห็นได้ว่าสาเหตุหลัก 3 ประการแรก คือ ความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ
ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม และความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม
จะสอดคล้องกับกระบวนการยอมรับนวัตกรรม คือ จะทำอย่างไรจึงจะให้บุคคลนั้น ๆ
มีความรู้ในนวัตกรรม ซึ่งเป็นขั้นตื่นตัว (Awareness) เกิดความสนใจ
(Interest) ศึกษาหาข้อมูล นำเอาข้อมูลมาไตร่ตรอง (Evaluation)
แล้วจึงนำเอาไปทดลอง (Trail) ก่อนที่จะถึงขึ้นสุดท้ายก็คือขั้นของการยอมรับ
(Adoption) ในส่วนของปัญหาหลักข้อสุดท้ายก็คือข้อจำกัดทางด้านงบประมาณนั้น
เป็นการสอนแบบร่วมมือประสานใจ ที่อาศัยกระบวนการเป็นองค์ประกอบหลัก
เน้นการสอนแบบร่วมมือประสานใจ (Cooperative Learning) การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
หรือการเรียนรู้แบบค้นพบ ก็คงจะแก้ไขปัญหาหลักข้อสุดท้ายได้
ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ขาดการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
- ขาดผู้รู้จริง
หรือผู้เชี่ยวชาญที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ที่มา http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page10005.asp
เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
สังคมมีผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแรงผลักดันจากสังคมให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น
-เนื่องจากสถานภาพทางเศรษฐกิจ
ทำให้มีการออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลาย ๆ งาน ได้ในขณะเดียวกัน
เพื่อทำให้ประหยัดทรัพยากร
-จากกระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วทั่วถึงได้ผลักดันให้เกิดอินเทอร์เน็ตขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น
-เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดรูปแบบสังคมแบบใหม่ที่มีการพบปะพูดคุยในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน
ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- การติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อาจจะทำให้เกิดการล่อลวงกัน
จนเกิดเป็นคดีต่าง ๆ
-การเข้าถึงข้อมูลและกระจายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเกินไป
มีผลต่อกลุ่มบุคคลที่ไม่ควรที่จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น เช่น
ภาพที่ไม่เหมาะสม
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการดำเนินชีวิต
-มีความรู้สึกโดยทั่วกันว่า
ต้องสามารถติดต่อผู้ที่มีมือถือได้โดยสะดวก หากบางครั้งก็พบอุปสรรค เช่น
บางครั้งคู่สนทนาอยู่ในที่อับสัญญาณ ทำให้กระทบต่อการติดต่อสื่อสาร
-เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน
เช่น คอมพิวเตอร์ถูกฝังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน อาทิ โทรทัศน์ ตู้เย็น
เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ
สภาพชีวิตความเป็นอยู่จึงเปลี่ยนไป เป็นต้น
-ระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจ่ายไฟให้กับพลเมืองเกิดขัดข้อง
จะก่อให้เกิดผลเสียมากมายรวมทั้งเกิดความวุ่นวายต่าง ๆ
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ผลกระทบต่อชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ
ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มนุษย์มีส่วนร่วมในสังคมลดน้อยลง ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านหายไป
เพราะมนุษย์ทุกคนสามารถพึ่งตนเองได้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ใช้แรงงานคนน้อยลง
ผู้ที่มีทุนมากอาจนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานทั้งหมดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น
ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหดลงแต่ในทางตรงกันข้ามการที่แต่ละคนสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กอาจจะทำให้เขากลายเป็นนายทุนอิสระ หรือรวมตัวเป็นสหกรณ์เจ้าของเทคโนโลยีร่วมกัน
และอาจทำให้เกิดองค์กรทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้
ผลกระทบด้านจิตวิทยา
ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นในเครื่องมือส่อสารทำให้มนุษย์จะมีการติดต่อสื่อสารผ่านทางจออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นจึงทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ต้องแบ่งแยกเป็น
ความสัมพันธ์อันแท้จริงโดยการสื่อสารกันตัวต่อตัวที่บ้านกับความสัมพันธ์ผ่านจออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลให้ความรู้สึกนึกคิดในความเป็นมนุษย์เปลี่ยนไป
ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบางตัวมีผล กระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย นอกจากนี้การสร้างเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น
มีผลทำให้มีการขุดค้นพลังงานธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้น
เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทางอ้อมและการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยปราศจากทิศทางการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้สิ่งแวดล้อม
อาทิ แม่น้ำ พื้นดิน อากาศ เกิดมลภาวะมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบทางด้านการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษามีลักษณะตามธรรมชาติที่เป็นสิ่งใหม่ ดังนั้นในความใหม่จึงอาจทำให้ทั้งครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เช่นนักเทคโนโลยีทางการศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา อาจตั้งข้อสงสัยและไม่แน่ใจว่า จะมีความพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อใด
และเมื่อใช้แล้วจะทำให้เกิดการเรียนรู้มากน้อยอย่างไร แต่นวัตกรรมก็ยังมีเสน่ห์ในการดึงดูดความสนใจ
เกิดการตื่นตัว อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของมนุษย์ หรือ อาจเกิดผลในเชิงตรงข้าม
คือกลัวและไม่กล้าเข้ามาสัมผัสสิ่งใหม่
เพราะเกิดความไม่แน่ใจว่าจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือใช้เป็นหรือไม่
ครูในฐานะผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรงจึงต้องมีความตื่นตัวและหมั่นติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ
ให้ทันตามความก้าวหน้า และเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสถานภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเอง การหมั่นศึกษา
และติดตามความรู้วิทยาการใหม่ ๆ
ให้ทันจะช่วยทำให้การตัดสินใจนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการศึกษา
สามารถทำได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและลดการเสี่ยงและความสั้นเปลืองงบประมาณและเวลาได้มากที่สุด
สรุปผลกระทบที่เกิดขึ้นในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในด้านต่างๆ
นับตั้งแต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
การใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างกว้างขวาง หมายถึงการใช้เทคโนโลยีไปในด้านต่าง ๆ
ซึ่งแน่นอนย่อมต้องมีทั้งคุณและโทษ ภาพยนตร์หลายเรื่องได้
สะท้อนความคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทางลบ ผลกระทบ ในทางลบเหล่านี้บางอย่างเป็นเพียงการคาดคะเนยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง
แต่อย่างไรก็ตามย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ผลกระทบในทางลบ มีดังนี้
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้
โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการ โจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร
มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลข บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลาย อย่าง เช่น
การแก้ไขระดับคะแนนของนักเรียน การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาล
เพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นใน
ภาพยนตร์
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว
การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มี ลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว
ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า
มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก
3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล
ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น
มีการใช้งานหุ่นยนต์ มาใช้งานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น
ทำให้ผู้ใช้ แรงงานอาจว่างงานมากขึ้น ซึ่งความคิด
เหล่านี้จะเกิดกับบุคคล
บางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี
หรือมีการพัฒนา ให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร
ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้า
และบริการ ต่าง ๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่อง มาจากเหตุอุบัติภัย เช่น
ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือ ด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายย่อมทำ
ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น
ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยี สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้
ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มี
การทำลายสูงเกิดขึ้น
6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้
ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญดังเช่น
การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าว
สารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ ผู้อื่นเสียหาย
นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่ง
จดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ ซึ่งจริยธรรมการ
ใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังกันมาก
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง
พึ่งพาตนเองได้
จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3
กลุ่ม คือ
-
กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorists)
-
กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา
หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
-
กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivists)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์
(Behaviorists)
สกินเนอร์ (B. F. Skinner) เป็นผู้นำ ซึ่งได้ทำการศึกษาทดลองกับสัตว์ในเรื่องของพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(Stimulus-Response : S-R Theory) โดยถือว่า
การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น
ทฤษฎีนี้จึงมีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
และถือว่าพื้นฐานของการเรียนรู้ จะมี 3
ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้ในเรื่องที่ซับซ้อนสามารถจำแนกออกมาเรียนรู้เป็นส่วนย่อยได้
2. ผู้เรียนเรียนรู้จากการรับรู้และประสบการณ์
3. ความรู้คือ
การสะสมข้อเท็จจริง และทักษะต่างๆ
การเรียนรู้ตามแนวคิดนี้จึงถือว่า
การเรียนรู้เป็นการรู้สาระเนื้อหา ข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎี การเรียนการสอน
จึงเน้นเรื่องการใช้ตำราเรียนและมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหา
และข้อเท็จจริงที่ไม่จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
ตามแนวคิดนี้การเรียนรู้จะมีลักษณะสำคัญ
4 ประการ คือ
1. ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการเรียน
2. ผลป้อนกลับ (Feedback)
ต้องเกิดขึ้นทันที เช่น ครูต้องบอกว่าตอบถูกหรือผิด
3. แต่ละขั้นตอนของการเรียนรู้ต้องสั้นไม่ต่อเนื่องยืดยาว
4. การเรียนรู้
(การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) ต้องมีการให้รางวัล และเสริมแรง
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดปัญญานิยม (Cognitivists)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น