หน่วยที่ 6

หน่วยที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
การเล่นปนเรียน
            สมการ Play + learn = plean
            จาก ความแตกต่างของห้องกิจกรรมอันมาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากวิธีการสอน ในโรงเรียน ส่งผลสะท้อนมายังรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ต้องเน้นที่การเรียนที่ สนุกสนาน เน้นที่การบูรณาการ (Integration) เชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาและความสนุกสนาน เป็นการ เรียนปนเล่นโดยนำคำ ๓ คำมาสร้างเป็นสมการข้างต้น ตามความเข้าใจน่าจะมีความหมายดังนี้
            คำว่า Play หมายถึงการเล่น ท่องเที่ยว ทัศนะศึกษา การทำกิจกรรมกลุ่มตามสถานที่ต่าง ๆ
            คำว่า Learn หมายถึงการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการตามสาขาต่าง ๆ
            คำว่า Plean หมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำการเล่นและการเรียนมารวมกันกลายเป็น เรียนปนเล่น
การเรียนรู้ของ ห้องเรียนในค่ายจึงมีบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด มีความสนุกสนานเพลิดเพลินควบคู่ไปกับการเรียนรู้ ตามหลักการ play + learn = plean ซึ่งส่งผลบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรมในการเรียนที่ต้องการส่งเสริมและเติมเต็ม “EQ และ IQ ไปพร้อมๆกัน” 

ความหมาย
                การเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน เป็นวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาสอนความรู้หรือทักษะ ซึ่งครูต้องการจูงใจผู้เรียนให้เรียนรู้จากกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กคิดว่าเป็นการเล่น (Rowntree. 1981: 219) และชาญชัย ศรีไสยเพชร (2527: 153 - 154) ได้อธิบายว่า การสอนแบบเล่นปนเรียน เป็นวิธีการสอนที่ให้เด็กได้เล่น ได้แสดง ได้ร้องเพลง ได้ทำกิจกรรม ควบคู่ไปกับการเรียนตามหลักจิตวิทยาหรือหลักธรรมชาตินั้นเด็กเด็กย่อมชอบการเล่น การแสดง ชอบกิจกรรมอยู่แล้ว การจัดบทเรียนให้มีกิจกรรมการเล่นย่อมจะทำให้เด็กสนุกสนานและอยากเรียนมากขึ้น ครูจะแทรกบทเรียนไว้ในการเล่น การทำกิจกรรม เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยการกระทำ ด้วยการแสดง ด้วยการเล่น ภายใต้การควบคุมของครู เป็นการนำเอาความซุกซนของเด็กมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน

ทฤษฏี / แนวคิด      
               การเล่นของเด็กเป็นการแสดงออกถึงความสามารถในการใช้ร่างกาย ความคิด ภาษา การแสดงออกทางอารมณ์และการสัมพันธ์กับผู้อ่าน เป็นการใช้พลังงานส่วนเกินของเด็ก ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมตามสัญชาติญาณ ทั้งยังเป็นการทบทวนการปฏิบัติตามวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและการลองผิดลองถูก ที่ค้นคว้าด้วยการสัมผัสด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นผลรวมของพฤติกรรมทั้งหมดของเด็ก อันเป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก (นิรมล ชยุตสาหกิจ. 2524:  1-2) ความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นและการเรียน ที่เด่นชัดคือการเล่นเป็นการนำไปสู่การค้นพบและการเรียนรู้ การเล่นทำให้เด็กเป็นอิสระและเกิดความสนุกสนาน และ เลขา ปิยะอัจฉริยะ (2524:  18) ได้สรุปความคิดว่า การเล่นคือการทำงานของเด็ก การเล่นเป็นกิจกรรมหลักที่เด็กทุกคนจะทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุระหว่าง 3-8 ปี และเมื่อการเล่นมีความสำคัญและช่วยให้การเรียนมีความหมายต่อเด็กมากขึ้น ครูผู้สอนจึงควรรู้จักเลือกกิจกรรมอุปกรณ์ที่ช่วยให้การเรียนมีความหมายต่อเด็กมากขึ้น เป็นที่หน้าสนใจของเด็ก และมีคุณค่าทางการศึกษาด้วยเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า การเล่นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็ก การเล่นนอกจากจะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินยังมีประโยชน์ด้านอื่นซึ่ง สุรางค์ จันทร์เอม (2527:  90-91) ได้เสนอไว้ว่า
1. การเล่นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เจริญเติบโต ช่วยให้เด็กรู้สึกสบาย ร่าเริงแจ่มใส เป็นการออกกำลังกายที่ดียิ่ง
2. การเล่นช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งอื่น ๆ ดีขึ้น ช่วยให้เด็กรู้จักปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ช่วยเสริมสร้างบุคลิกลักษณะของเด็กที่ดี
3.การเล่นช่วยสร้างมิตรภาพและให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา รู้แพ้รู้ชนะและได้รับความพึงพอใจจากการเล่น
4. การเล่นของเด็กจัดเป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง เด็กได้พัฒนาลักษณะต่าง ๆ จากการเล่นช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความรู้กว้างขวาง และทำให้เด็กทราบว่าตนชอบอะไร มีความสามารถทางไหน
5. การเล่นเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของเด็ก เพราะเด็กได้ระบายอารมณ์และความต้องการต่าง ๆ
6. การเล่นเป็นการฝึกมารยาท รู้จักการกระทำที่ถูกต้องจากการเล่น

               
 ทฤษฎีการเล่น 4 ทฤษฎี
        ในส่วนที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเล่น Spodek (1985:  181) ได้เสนอแนวทฤษฎีคลาสสิค   (The classical theories) ไว้เป็นทฤษฎีการเล่น 4 ทฤษฎี คือ
1.ทฤษฎีการระบายพลังงาน (Surplus energy theory) หลักการของทฤษฎีนี้บอกว่า ปริมาณพลังงานที่มีนั้น ร่างกายได้ใช้ไปกับการทำงาน ส่วนการเล่นจะเกิดขึ้นในเวลาที่ร่างกายมีพลังงานมากเกินความต้องการ
2. ทฤษฎีการพักผ่อน (Relaxation theory) หลักการนี้เชื่อว่า การเล่นเป็นการทำให้พลังงานที่ใช้ไปคืนกลับมา หลังการทำงานที่เหนื่อยล้า ร่างกายต้องการกิจกรรมที่ผ่อนคลาย คือการเล่น
3.ทฤษฎีการเตรียมออกกำลัง (Pre – exercise theory) การเล่นเป็นพฤติกรรมสัญชาติญาณเป็นการสร้างกิจกรรมในอนาคต การเล่นเป็นการนึกคิดเตรียมบทบาทในการทำงานในอนาคต
4. ทฤษฎีการสรุป (Recapitulation theory) การเล่นเป็นการรื้อฟื้นทบทวนย้อน ทำกิจกรรมที่ผ่านมาของชีวิต

       แนวทางการจัดการเรียนรู้
        การเล่นของเด็กมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กอย่างมาก สำหรับการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา ทิศนา แขมมณี (2532:  87- 89) ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
1.  การเล่นแบบสำรวจตรวจค้น (Exploration play) การเล่นที่ส่งเสริมการรับรู้และประสบการณ์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความสนใจ สงสัยและความกระตื้อรื้อร้น อยากรู้อยากเห็นที่มีในตัวเด็กซึ่งจะช่วยให้เด็กได้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่สำรวจอันทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการด้านความคิดรวบยอด และจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การค้นพบการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาทีไม่เคยเรียนรู้หรือไม่มีประสบการณ์มาก่อน
2. การเล่นแบบทดสอบ (Testing play) การเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผล การที่เด็กได้สำรวจและทดลองเพื่อทดสอบ ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่สำคัญมาก เด็กทีสำรวจสิ่งต่าง ๆ มักจะมีการทดสอบคุณสมบัติของสิ่งนั้น ๆ เช่น เด็กกดปุ่มพัดลมปิด เปิด และนั่งดูใบพัดหมุน เป็นต้น
3. การเล่นแบบออกกำลังกาย (Physical play) การเล่นที่ส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้เป็นการเล่นในลักษณะของการออกกำลังกายช่วยพัฒนากล้ามเนื้อทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งยังช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ ให้เกิดความพร้อมในการเรียนรู้ ซึ่งแม้ว่า  Physical play  จะมีบทบาทที่ชัดเจนในการพัฒนาทางกาย แต่ก็มีส่วนสัมพันธ์กับการพัฒนาทางสติปัญญาด้วย เพราะความพร้อมทางทางกายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นไปอย่างเหมาะสม
4. การเล่นสมมุติและการเรียนแบบ (Dramatic play and initiation) การเล่นที่ส่งเสริมการใช้ความคิดและจินตนาการ เป็นการกระตุ้นให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการของตนฝึกการคิดคำนึง การสร้างมโนภาพ ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจในเรื่องนามธรรมมากขึ้น รวมทั้งรู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้
5. การเล่นสร้าง (Construction play) เป็นการเล่นที่เด็กจะนำข้อมูลความรู้ทัศนคติต่าง ๆ จากประสบการณ์มาสัมพันธ์กันใหม่ อันก่อให้เกิดความคิดและประสบการณ์ใหม่ ๆ ในด้านสร้างสรรค์ เพื่อให้การเล่นประสบความสำเร็จ การเล่นลักษณะนี้มีค่อนข้างมากในชนบทวัสดุอุปกรณ์ในการเล่นมักทำจากวัสดุเหลือใช้ หรือวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น การเล่นร้อยดอกไม้แล้วนำไปเล่นสมมติซื้อขายดอกไม้
6. การเล่นแบบสัมผัสกระทำ (Manipulative play) เป็นการเล่นที่ส่งเสริมการสังเกต การจำแนก          การคิดเปรียบเทียบและการคิดหาความสัมพันธ์ เช่น การเล่นตัวต่อ นำภาพมาต่อให้เป็นรูปภาพ เป็นต้น
7. การเล่นที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาและความจำ (Verbal play) ทักษะทางภาษาของเด็ก เป็นดัชนีบ่งชี้ประการสำคัญประการหนึ่งของพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก การเล่นช่วยฝึกทักษะการฟัง ทำให้เด็กสามารถเข้าใจผู้อื่นได้ การเล่นช่วยฝึกทักษะการพูด ทำให้เด็กสามารถสื่อความคิดต่าง ๆ ของตนให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เช่น การเล่นร้องเพลงและทำท่าประกอบจังหวะการเล่นเล่าเรื่อง การเล่นท่องคำคล้องจอง และท่าประกอบ เป็นต้น
8. การเล่นเกม (Games) เป็นการเล่นที่ส่งเสริมการคิดการตัดสินใจ เกมบางอย่างเด็กต้องอาศัยการออกกำลังกาย การเล่นนับว่ามีส่วนช่วยพัฒนาสติปัญญาของเด็ก ในการเล่นเกมเด็กต้องจำกติกา ข้อตกลง ต้องตัดสินใจและใช้ไหวพริบ นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาด้านร่างกาย สังคมและอารมณ์ด้วย


เทคนิคการสอนเรียนปนเล่น 
                เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เพื่อนครูจะนำไปเป็นแนวทาง  และปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเนื้อหาวิชาของแต่ละคน  ในการจัดการเรียนการสอนวิชาพิมพ์ดีดไทย  เทคนิคการสอนเรียนปนเล่นอย่าเพิ่งตกใจ  ว่าเรียนไปด้วยเล่นไปด้วยแล้วอย่างนี้เด็กจะได้รับความรู้หรือเปล่าขั้นตอนสำคัญๆ  มีดังนี้
-                                            เริ่มเข้าสู่บทเรียนด้วยเรื่องทั่วๆไป (เล่าเรื่องตลกๆ ) ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นเทคนิคส่วนตัวของผู้สอนที่ต้องฝึกฝน  ซึ่งเป็นเรื่องไม่ยาก  เรียนรู้กันได้
-                                            เข้าสู่บทเรียนด้วยเนื้อหาตามแบบแผนการสอนและสังเกตบรรยากาศพฤติกรรมผู้เรียนขั้นตอนนี้สำคัญมาก  เด็กจะได้รับเนื้อหามากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับครูผู้สอน  ที่จะต้องนำ EQ มาร่วมกับ IQ ให้ได้  มีมุขตลกมาสอดแทรก  และที่สำคัญครูต้องตามทันมุขต่างๆ  ที่นักเรียนนำมาพูดกัน
-                                            ขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครูจะต้องปล่อยให้นักเรียนมีการทำกิจกรรมร่วมกันแม้จะเป็นงานเดี่ยวแต่นักเรียนก็สามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นได้เด็กสามารถเคลื่อนที่ภายในห้อง  แต่ไม่ใช่สร้างความวุ่นวาย
-                                            ขั้นสุดท้ายซึ่งสามารถสรุปและตรวจสอบได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในคาบนั้น  ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด  คือ  การตรวจสอบชิ้นงาน  โดยวิธีต่างๆ  เช่น  นำเสนอหน้าชั้นเรียน  การร่วมอภิปรายรายงานผล  การแชร์ความคิดเห็น  การโหวตให้คะแนนหรือแม้แต่การร่วมส่ง SMS  ให้แก่ผลงานที่นักเรียนชื่นชอบ ฯ
เทคนิคการสอนวิธีเรียนปนเล่น  จึงน่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่เพื่อนครูจะนำไปเป็นแนวทาง  และปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเนื้อหาวิชาของแต่ละคน
        
ขั้นตอนการสอนแบบเรียนปนเล่น
          1. ขั้นเตรียมการ คือ ครูต้องเตรียมการสอนตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ เลือกวิธีการสอนอย่างไรจึงจะทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนและสนุกสนาน จัดเตรียมการร้องเพลง เล่นเกม
          2. ขั้นสอน คือ เมื่อครูเตรียมงานและชี้แจงให้เด็กทราบ แล้วครูใช้เกมในการสอน เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ
           3. ขั้นสรุป คือ เป็นขั้นที่เด็กและครูช่วยกันสรุปความคิดรวบยอดที่ได้จากการเรียนรู้ที่ผ่านทางการเล่นเกมหรือการร้องเพลงของเด็ก

          สิ่งได้จากการเล่น
1. การพัฒนากล้ามเนื้อของร่างกาย (Muscle Development) กล้ามเนื้อได้ออกแรง แข็งแกร่ง ฉับไวและใช้งานได้แม่นยำ เช่น กล้ามเนื้อมือ ใช้หยิบจับสิ่งของ นอกจากนี้ขณะเล่นและนอนหลับ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบโตและส่วนสูง (growth hormone) ทำให้เจริญเติบโตเร็ว
2. อารมณ์ดี (EQ) สดชื่น เบิกบานแจ่มใส ไม่หงุดหงิด เป็นช่องทางระบายความโกรธ ความก้าวร้าว เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ๆ และผู้ใหญ่มากขึ้น
3. เสริมสติปัญญา (IQ) ขณะเล่นลูกใช้สมองและจินตนาการ กระตุ้นให้ลูกคิดเป็น ทำเป็น พัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้มาก
4. มีพัฒนาการทางสังคม (SQ) รู้จักระงับความต้องการของตนเอง เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น มีวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
5. เกิดความรักความผูกพัน เมื่อลูกเล่นกับเพื่อนจนสนิทสนม คุณพ่อคุณแม่ที่เล่นกับลูกมากๆ เล่นอย่างสม่ำเสมอ จะเกิดความผูกพันที่แนบแน่น เกิดความรักอยากเป็นคนดี เชื่อฟังพ่อแม่เสมอและสร้างบรรยากาศสุขสดชื่นในครอบครัว
6. ถ่ายทอดความรัก (MQ) คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ใหญ่ที่เล่นกับลูก ลูกจะได้รับความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกปลอดภัย และความมั่นใจ เมื่อเติบใหญ่ขึ้น ลูกจะรักคนอื่น รักเพื่อมนุษย์ รักสังคม รักสิ่งแวดล้อมและรักวัฒนธรรม
7. การเรียน (AQ) ทั้งการเรียนรู้โดยตรง การลองผิดลองถูก และการนำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ผสม ผสานกับความรู้เก่า ถ้ามีผู้ใหญ่เล่นด้วย ชี้แนะ กระตุ้นให้ลูกคิด ชื่นชม ให้กำลังใจ ปลอบโยน เมื่อผิดพลาดล้มเหลว ทำให้เด็กอยากรู้ อยากเรียน อยากทำมากขึ้น
8. การฝึกสมาธิ (Spiritual Intelligence) และฝึกวินัย ขณะที่ลูกจดจ่อกับการเล่นที่สร้างสรรค์ จะเป็นช่วงที่ลูกมีจิตที่นิ่ง เป็นพื้นฐานของการฝึกฐานสติ และเมื่อเล่นเสร็จควรฝึกให้ลูกเก็บให้เข้าที่ เพื่อเป็นการฝึกวินัยการเล่นให้ลูกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น