จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาเป็น การเรียนรู้ (Learning)
ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร
อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว
พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร
จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ
เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น
นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ
หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง
แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า
นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ
ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ
ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง
ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้
เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม
อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard
& Bower, 1981) "การเรียนรู้
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก
ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา
หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา “
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's
Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ
กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ
อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
"การเรียนรู้
เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา
"
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
- ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
- ทำให้ครูทราบทฤษฎี
หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
- ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
- ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี,
2535)
วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์
(behavioral science)
2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี
ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
ประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยา
๑. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ
โดยเฉพาะในงานราชการ
การทำหน้าที่จำหน้าและชื่อคนในบังคับบัญชาและลูกค้า การปกครองให้คนร่วมมือกลมเกลียว วิธีสอบสัมภาษณ์เลือกคนเข้าทำงานและการใช้คนให้เหมาะสมกับชนิดของงาน วิธีเอาใจลูกค้าด้วยประการต่าง ๆ ฯลฯ
๒. มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา จิตวิทยาวิเคราะห์ให้ทราบว่า การเล่นคืออะไร
และบอกให้ทราบว่าเด็กคนไหนมีความเจริญทางจิตแค่ไหน ควรเล่นอะไร จึงจะได้ประโยชน์
การให้กำลังใจในการเล่นกีฬาเป็นส่วนที่ช่วยให้คนเล่นกีฬาชนะเท่า ๆ
กับกำลังกาย
ความรู้ในทางจิตวิทยาจะทำให้ครูพละศึกษาและหัวหน้าชุดกีฬาประเภทต่าง ๆ
สามารถปลุกกำลังใจของผู้เล่นได้ถนัดมือขึ้น จิตวิทยาของคนดูกีฬา ดูละคร
หรือฟังปาฐกถา ก็เป็นสิ่งที่ผู้เล่นกีฬา ผู้แสดงละคร
หรือแสดงปาฐกถาควรรู้ไว้
๓. จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น ตามหลักจิตวิทยามีสิ่งสำคัญอยู่ ๓
ประการในเรื่องการปรับปรุงตัวเองให้เหมาะกับสังคม
(ก)
ความรู้ในเรื่องมรรยาทและเรื่องจารีตประเพณี (ข)
ความรู้สำหรับทำตัวให้สนใจผู้อื่น (ค)
นิสัยที่จะคอยตรวจพิจารณา
และตีความพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผู้อื่น เพื่อให้ทราบว่าเขามีท่าทีความรู้สึก (ATTITUDE) และอารมณ์อย่างไร
๔. การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา
เพราะกำลังใจของคนไข้เป็นส่วนที่แพทย์และนางพยาบาลต้องนึกถึงไม่น้อยว่าการรักษาพยาบาลด้วยยา ทั้งแพทย์และนางพยาบาลต้องมีอัตลักษณ์ (CHARACTER) ที่อดทนต่อการจู้จี้ของคนไข้ได้โดยไม่ให้มีเรื่องสะเทือนจิตใจของตัวเอง
และต้องมีกุศโลบายร้อยแปดเพื่อเอาใจคนไข้โดยมิให้เสียถึงหลักการรักษาพยาบาล
๕. จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฏหมายในเรื่องการสืบพยาน การสืบพยานเป็นเรื่องของจิตวิทยาเท่า ๆ กับเป็นปัญหาทางกฏหมาย ศาลห้ามทนายความไม่ให้ถามนำ
เพราะพยานมักจะรับการเสนอแนะจนทำให้ความจำเลอะเลือน และไม่สามารถให้การได้ตามที่พยานรู้เห็นจริง
ๆ บางคนเอาสิ่งที่ตัวเห็นจริง ๆ
ปนกับสิ่งที่ตัวนึกว่าเห็นโดยไม่มีเจตนาจะพูดเท็จ
เด็ก ๆ มักเป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น
ศาลจึงไม่ถือว่าคำให้การ
การจูงใจ
การจูงใจ (Motivation) คืออะไร
มีผู้ให้คำจำกัดความของการจูงใจไว้ดังนี้
๑.
การจูงใจ คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ
และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ
ประเภทของการจูงใจ
นักจิตวิทยาแบ่งการจูงใจเป็น ๒ ประเภทดังนี้
๑.
การจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation)
๒.
การจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation)
ผลที่ได้จากการจูงใจ
๑.
ทำให้เกิดพลังงาน หรือเกิดมีพฤติกรรมต่างๆ ขึ้น
๒.
ทำให้เกิดการเลือก
จัดเป็นการกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล
๓.
เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน
๔.
เป็นการนำเด็กไปสู่จุดหมายปลายทาง
แรงจูงใจกับการเรียนการสอน ในการเรียนการสอนนั้น
สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ ส่งเสริมให้เด็กเกิดมีแรงจูงใจขึ้น
ถ้าสามารถทำได้ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน
แต่แรงจูงใจภายในนั้นปลูกฝังได้ยาก ครูทั่วไปจึงมักใช้แรงจูงใจภายนอกเข้าช่วย
แรงจูงใจภายนอกที่ครูใช้อยู่เป็นประจำ ดังนี้
๑.
รางวัล การให้รางวัล
ครูไม่ควรให้บ่อยเกินไป หรือเป็นของที่มีราคาแพงเกินไป
และควรให้เด็กได้รับรางวัลทั่วถึงกันไม่ใช่จะให้อยู่เพียง ๒ - ๓ คนแรกเท่านั้น
๒.
ความสำเร็จในการเรียน
การที่เด็กได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน ก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าเดิม
๓.
การยกย่องชมเชย
คำชมที่เหมาะกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของนักเรียนย่อมเป็นแรง
จูงใจให้แก่เด็กเป็นอย่างดี แต่ถ้าครูชมอย่างไม่จริงใจ และเด็กรู้กันทั่วไปว่า
คำชมเชยของครูไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น
ครูไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพรื่อ
๔.
การตำหนิ
ถ้าครูใช้การตำหนิแต่เพียงเล็กน้อยไม่พร่ำเพรื่อเกินไปแล้ว การตำหนิก็มีผลในการ
สร้างแรงจูงในในการเรียนได้มากเหมือนกัน ในการตำหนินั้นครูต้องทำให้เหมาะสมกับความบกพร่อง
และตำหนิให้เหมาะกับโอกาส ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน
และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอย่างไร
๕.
การแข่งขัน การแข่งขันในการเรียน
ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่างหนึ่ง
ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน
๖.
ความช่วยเหลือ
ความร่วมมือก็นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง
ตามปกติเด็กย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว
ความร่วมมือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
๗.
การรู้จักความก้าวหน้าของตน
ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ
เด็กจะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
๘.
การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน
การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียนได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น
วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุดประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล
จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่การเรียนในอนาคตของเด็กเอง
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
- ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
หลักการสำคัญ
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2. มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
ประโยชน์ของจิตวิทยา
๑เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
๒.
มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา
๓.
จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น
๔.
การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา
๕.
จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการสืบพยาน
๖.
จิตวิทยาเป็นหัวใจของการโฆษณาประชาสัมพันธ์
การนำความรู้ไปใช้
.......๑.
ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่ ต้องแน่ใจว่า
ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
๒.
พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
.......๓. ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ
และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
.......๔. ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน
ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
.......๕.
พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น
ประกอบด้วย
ปัจจัย ๓ ประการ คือ
.......๑.
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน ถาวร
.......๒.
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ
เท่านั้น
.......๓.
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ
ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น